การบันทึกครั้งที่ 10 / วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เพื่อนนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1. นางสาววิจิตรา เสริมกลิ่น
สรุปบทความ เสริมการเรียนเลขให้ลูกวัยอนุบาล
จากเนื้อหาของบทความได้กล่าวว่าการเรียนคณิตศาสตร์ของเด็ก มักถูกคาดหวังสูง โดยถูกมุ่งหวังให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง แต่ไม่มีใครสนใจเรื่องกระบวนการคิดของเด็กว่าเขาคิดอย่างไร ทำไมถึงตอบเช่นนี้ ซึ่งหากพัฒนาเรื่องกระบวนการคิดของเด็ก จะเป็นการช่วยส่งเสริมการเรียนคณิตศาสตร์ของลูกได้เป็นอย่างดี
กระบวนการคิด+คณิตวัยอนุบาล
อย่างเเรกคุณพ่อคุณแม่ต้องมีความรู้ความเข้าใจในพัฒนาการของเด็กๆ ว่าบางครั้งเด็กๆ ต้องการการเรียนรู้แบบตอกย้ำซ้ำทวน ต้องฝึกฝนทำบ่อยๆ นี่คือทักษะ ซึ่งวิชาคณิตศาสตร์ถือเป็นทักษะการเรียนรู้ที่ต้องทำซ้ำๆ บ่อยๆ ไม่ใช่เพียงเเค่หาคำตอบที่ถูกที่สุด แต่อันที่จริงแล้วสิ่งสำคัญนั้นอยู่ที่กระบวนการคิดที่ได้มาของคำตอบต่างหาก ที่สะท้อนว่าเด็กๆ มีวิธีคิดอย่างไร
เข้าใจ Mathematical Skill เด็กวัยอนุบาล
- เข้าใจด้วยระบบสัญลักษณ์ เด็กวัยนี้จะนับเลข 1- 5 ได้ แต่ถามว่ามีค่าเท่าไรเด็กจะยังไม่เข้าใจพ่อคุณแม่ต้องช่วยกันสร้างความเข้าใจแก่เขา โดยการใช้ระบบสัญลักษณ์ (ภาพหรือสิ่งของที่จับต้องได้) แทนตัวเลข
- เด็กวัยอนุบาลจะทำกิจกรรมโดยใช้ประสาทสัมผัสตากับมือเป็นหลัก จะตัดสินจากสิ่งที่มองเห็น
- ทักษะทางภาษายังต้องสั่งสม ทักษะทางภาษาเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียนคณิตศาสตร์ ซึ่งสำหรับเด็กวัยอนุบาลยังต้องได้รับการกระตุ้นเรื่องการสื่อสาร เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษาที่ดีขึ้น อันจะส่งผลให้เขาสามารถตั้งคำถามและอธิบายเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนได้ เช่น มีของอยู่ 3 ชิ้น คุณแม่ให้เพิ่มอีก 2 ชิ้น หากเขามีทักษะทางภาษาที่ดีเขาจะต้องเข้าใจคำว่า “เพิ่ม” คืออะไร และจะนำมาซึ่งกระบวนการคิดและตอบคำถามอย่างถูกต้อง
2. นางสาวศิริพร พันโญศรัณยา
ตัวอย่างการสอน ครูสอนการนับจำนวนที่ชั้นอนุบาล1/1
เทคนิคการสอน
ตอนแรกใช้การร้องเพลงและท่าประกอบตามเพลง
อุปกรณ์ที่ใช้และวิธีการสอน
ในการสอน แพงใส่ไข่ที่ใช่แล้ว ลูกปิงปอง ตะกร้า วาดภาพไก่ติดไว้ที่ตะกร้าแล้วเขียนตัวเลขที่ตัวไก่ที่เราวาดไว้เริ่มจาก 1-ไปเรื่อยๆการสอนให้เด็กออกมาเปิดไก่ที่เราวาดติดไว้ว่าเป็นตัวเลขอ่ะไรให้เด็ก
ยิบลูกปิงปองใส่ลงในแพงไข่ให้ถูกตามที่เราเปิดตัวเลขที่แม่ไก่ให้เด็กๆออกมาที่ล่ะคน
3. นางสาวจีรวรรณ งามขำ
สรุปวิจัยเรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงคเพื่อสรางหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย ศึกษาผลการเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตรเรื่องการรูคาของตัวเลข 0 - 9 สําหรับเด็กปฐมวัย หลังการใชหนังสือภาพและศึกษาความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพ
แผนการจัดประสบการณเพื่อเตรียมความพรอมทางคณิตศาสตร
เรื่องการรูคาของตัวเลข 0 – 9 จํานวน 12 แผนแบบทดสอบความพรอมทางคณิตศาสตร
เด็กปฐมวัยหลังใชหนังสือภาพ จํานวน 10 ชุด และแบบสอบถามความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพจํานวน 1 ชุดวิเคราะหขอมูลโดยการหาคาเฉลี่ยรอยละของคะแนนความพรอมทางคณิตศาสตรแลวเปรียบเทียบกับเกณฑที่ตั้งไวของโรงเรียนรอยละ 60.00 และนําเสนอขอมูลโดยใชตารางประกอบคําบรรยาย สวนความคิดเห็นของเด็กปฐมวัยที่มีตอหนังสือภาพวิเคราะหขอมูลโดยการหาคาเฉลี่ย(และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน)และนําเสนอขอมูลโดยใชตารางประกอบคําบรรยาย
กิจกรรมต่อมา อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเกี่ยวกับวิธีการสอนในหน่วยที่ตัวเองได้รับมอบหมาย โดยอาจารย์คอยแนะนำและอธิบายให้ฟัง และอาจารย์ให้นักศึกษานั่งกันเป็นกลุ่มนั่งเรียงตามวันที่แต่ละคนไปร่างแผนการสอนมา และอาจารย์ถามแต่ละกลุ่มว่าวันจันทร์ หัวข้ออะไรและจัดกิจกรรมอะไร
กลุ่มของดิฉันคือ"หน่วยบ้าน"
1.ประเภท
2.ลักษณะ
3.การดูแลรักษา
4.ประโยชน์
5.ข้อควรระวัง
ทักษะที่ได้รับ
- ทักษะการแก้ปัญหา
- ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะการสังเกต
การนำมาประยุกต์ใช้
- สามารถนำวิธีการสอนนี้ไปใช้ในอนาคตได้
- บรรยากาศในห้องเรียน
- โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหาด้วยตนเอง
ประเมินตนเอง
- ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่
ประเมินเพื่อน
- มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ประเมินอาจารย์
- แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน