แฟ้มสะสมงานวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย/2558 นางสาวภัทรภร ญาติสังกัด เลขที่7
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559
หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สรุปหลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
หลักการสอนคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย
การพัฒนาทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอย่างเต็มศักยภาพสูงสุดนั้น
ผู้สอนจะต้องเข้าใจพัฒนาการและความสามารถตามวัยของเด็ก
นิตยา ประพฤติกิจ ( 2532 : 243 ) กล่าวว่า ครูไม่ควรยึดมั่นและคิดว่าเด็กจะต้องเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ตามที่ตนได้ตั้งจุดมุ่งหมายเอาไว้ หรือคิดว่าเด็กน่าจะทำได้ เพราะเด็กแต่ละคนมีความสามารถต่างกัน และมีพื้นฐานทางครอบครัวต่างกัน
ครูต้องเน้นให้เด็กได้ลงมือทำจริงและได้ทำกิจกรรมที่มีความหมายต่อตัวเด็กให้เด็กได้ดู จับต้อง และทดสอบความคิดของเขาในบรรยากาศที่เป็นกันเองในห้องเรียนและนอกห้องเรียน
อย่างเช่น ที่โรงเรียนมีต้นผลไม้ ครูอาจให้เด็กชั้นประถมขึ้นไปเก็บหรือถ้าไม่มีเด็กโตครูก็จัดเก็บเองแล้วให้เด็กได้นับจำนวนผลไม้กันจริง ๆ ถ้าหากเด็กสามารถเข้าใจการนับแล้วอาจมีการสอนเพิ่มได้โดยขึ้นไปเก็บอีกแล้วให้เด็กนับเมื่อมีการแจกผลไม้บางผลให้เด็กไป ครูก็อาจตั้งคำถามเพื่อให้เด็กนับจำนวนผลไม้ที่เด็กได้มาเพิ่ม การให้เด็กได้ปฏิบัติด้วยตนเองนับเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากต่อการเชื่อมโยงระหว่างวัตถุกับความเข้าใจทางด้านคณิตศาสตร์ของเด็ก เด็กควรที่จะได้รับการฝึกฝนให้มีความเข้าใจหรือมีแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์
การสอนแต่ละครั้งครูควรสอนความคิดรวบยอด (Concept) เพียงเรื่องเดียว เช่น เพิ่มหรือลด
หรรษา นิลวิเชียร (2535 : 118) ได้เสนอเทคนิคและหลักการสอนคณิตศาสตร์แก่เด็กเล็กตามแนวคิดของเพียเจต์ นักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา ดังนี้
1. เด็กจะสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ โดยการจัดกระทำต่อวัตถุโดยวิธีธรรมชาติ หรือด้วยตนเองเท่านั้น
2. เด็กทำความเข้าใจกระบวนการทางด้านคณิตศาสตร์หลังจากที่เด็กเข้าใจการใช้เครื่องหมายเท่านั้น
3. เด็กควรทำความเข้าใจความคิดรวบยอดทางมทคณิตศาสตร์ก่อนที่จะเรียนรู้การใช้สัญลักษณ์ต่างๆ
ทางคณิตศาสตร์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กเล็กนั้น ควรให้เด็กได้มีโอกาสทำกิจกรรมด้วยตนเองได้สัมผัสได้จัดกระทำกับของจริง มีประสบการณ์กับสิ่งที่เป็นรูปธรรม
การจัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้ทำแบบฝึกหัดในสมุด หรือการใช้เครื่องบันทึกเสียง รูปภาพ แผ่นใส ภาพนิ่งประกอบ ก็คือ การสอนโดยใช้สื่อที่เป็นนามธรรมนั่นเอง เด็กมักจะถูกสอนให้จัดกระทำกับจำนวน เช่น บวก ลบ คูณ หาร ซึ่งอันที่จริงแล้วการเรียนในระดับเด็กเล็กและประถมศึกษาตอนต้นนั้น การสร้างมโนทัศน์มีความสำคัญกว่าการคิดคำนวณ การเริ่มสอนเด็กด้วยการให้เด็กคิดคำนวณนั้น เป็นวิธีการสอนที่ผิดอย่างยิ่ง จำนวนเครื่องหมายนามธรรมที่ไม่มีความหมายใด ๆ เด็กจะเรียนด้วยการปฏิบัติต่อวัตถุเท่านั้น
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2527 : 243 - 244) ให้แนวทางในการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย มีขั้นตอน ดังนี้
1. ให้เด็กเรียนจากประสบการณ์ตรงจากของจริง
ดังนั้นการสอนจะต้องหาอุปกรณ์ที่เป็นของจริงให้มากที่สุด และต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม
1.1 ขั้นใช้ของจริง เมื่อจะให้เด็กนับหรือเปรียบเทียบสิ่งของควรใช้ของจริง เช่น ผลไม้ ดินสอ เป็นต้น
1.2 ขั้นใช้รูปภาพแทนของจริง ถ้าหากหาของจริงไม่ได้ก็เขียนรูปภาพแทน
1.3 ขั้นกึ่งรูปภาพ คือ สมมติเครื่องหมายต่าง ๆ แทนภาพหรือจำนวนที่จะให้เด็กนับหรือคิด
1.4 ขั้นนามธรรม ซึ่งเป็นขั้นสุดท้ายที่จะใช้ ได้แก่ เครื่องหมายบวก ลบ
2. เริ่มจากสิ่งที่ง่าย ๆ ใกล้ตัวเด็ก จากง่ายไปหายาก
3. สร้างความเข้าใจและรู้ความหมายมากกว่าให้เด็กท่องจำ
4. ฝึกให้คิดจากปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก เพื่อขยายประสบการณ์ให้สัมพันธ์กับประสบการณ์เดิม
5. จัดกิจกรรมให้เกิดความสนุกสนาน และได้รับความรู้ไปด้วย เช่น
5.1 เล่นเกมต่อภาพ จับคู่ภาพ ต่อตัวเลข
5.2 เล่นต่อบล็อก ซึ่งมีรูปร่างและขนาดต่าง ๆ
5.3 การเล่นในมุมบ้าน เล่นขายของ
5.4 แบ่งสิ่งของเครื่องใช้ แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน
5.5 ท่องคำคล้องจองเกี่ยวกับจำนวน
5.6 ร้องเพลงเกี่ยวกับการนับ
5.7 เล่นทายปัญหาและตอบปัญหาเชาวน์ดังนั้น หลักการจัดประสบการณ์ทาง
คณิตศาสตร์แก่เด็กปฐมวัย ควรเปิดโอกาสให้เด็ก "กระทำ" กล่าวคือ จัดกระทำหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ สิ่งแวดล้อม และบุคคลอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากในวัยนี้การเริ่มต้นจากสิ่งที่เป็นนามธรรมก่อนนั้น เด็กจะเรียนรู้ด้วยความยากลำบาก จึงต้องสอนจากรูปธรรมไปหานามธรรม จากสิ่งง่าย ๆ ใกล้ตัวหรือในชีวิตประจำวันจะทำให้เด็กสนุก มีความสุขกับการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นการขยายประสบการณ์เดิมให้สัมพันธ์กับประสบการณ์ใหม่ที่ได้รับตามความสามารถของเด็กแต่ละคน
บันทึกครั้งที่2
การบันทึกครั้งที่ 2 / วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
อาจารย์ให้กระดาษมา กระดาษนั้นน้อยกว่าจำนวนของคน คนมากกว่ากระดาษ อยู่ 8 คน เกิดการเปรียบเที่ยบในการหาค่าคำนวณ จำนวนตัวเลขของคนที่ยังไม่ได้กระดาษว่าต้องหากระดาษเพิ่มอีกกี่แผ่นของจำนวนคนที่ยังไม่ได้กระดาษขาดอยู่ 8 คน 8 แผ่น ให้หัวข้อการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตามหัวข้อ
1. เด็กปฐมวัย 2. การจัดประสบการณ์ 3. คณิตศาสตร์ ทำเป็น Mind Mapping พร้อมอธิบายหัวข้อที่จะต้องแตกออกไป มีทฤษฎี ความหมาย หลักการ แนวทาง การเรียนรู้ เป็นต้นและให้ทำงานที่สั่งในบล็อกในเสร็จส่งภายในวันนี้ก่อน 23.00 น.
ทักษะที่ได้รับ
-ทักษะจากการสร้างสถานการณ์
-ทักษะในการวิเคราะห์และสรุปเนื้อหาการเรียน
-ทักษะในการแก้ไขปัญหา
การนำมาประยุกต์ใช้
สามารถนำเทคนิควิธีการสอนและกระบวนการคิดนี้มาปรับประยุกต์ในการจัดกิจกรรมการสอนเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ทำให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีตามวัยและช่วงอายุ เน้นไปทางด้านเกมการศึกษาจะช่วยฝึกกระตุ้นการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็กได้เป็นอย่างดี
บรรยากาศในห้องเรียนบรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียนรู้ เพื่อนๆนักศึกษาทุกคนตั้งใจฟัง ในการสนทนาตอบคำถามมีการแย่งกันแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไปทำให้เรียนแล้ว ดูไม่ตรึงเครียดและฝึกการคิดวิธีการที่หลากหลายวิธี
ประเมินวิธีการสอน
การสอนของอาจารย์จะเน้นกระบวนการคิดและการวิเคราะห์พร้อมให้นักศึกษาตอบคำถามและมีการตั้งคำถามปลายเปิด สามารถให้นักศึกษาตอบคำถามของอาจารย์ได้หลายคน ทำให้มีการคิดที่แตกต่างกันออกไปและคำตอบของแต่ละคนจะไม่มีผิดหรือถูกอาจารย์จะคอยเพิ่มเสริมให้อยู่ตลอดเวลา
คุณธรรมจริยธรรม
-รับผิดชอบงานที่อาจารย์มอบหมายและสั่งงาน
-ตั้งใจเรียนขณะที่อาจารย์กำลังสอน
-ไม่เสียมารยาทรบกวนผู้สอนหรือผู้เรียน
การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม
เพื่อน : มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
สื่อการนับเลข
การอ่านสำหรับเด็กปฐมวัยอนุบาล 1-2 การนับและตัวเลข
สื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย การนับและตัวเลข
ชื่อเรื่อง การนับจำนวนตัวเลขให้ตรงตามรูปภาพ
1. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการนับจำนวนตัวเลข
2. เพื่อให้นักเรียนรู้จักการสังเกต
3. เพื่อให้นักเรียนรู้จักจำนวน
อุปกรณ์
1.ฟิวเจอร์บอร์ด 1 แผ่น
2.กระดาษ 100 ปอนด์
3.สีไม้
4.แลคซีน
5.กาว
6.กรรไกร
7.กระดาษลัง
ขั้นตอนการทำ
1.นำกระดาษ 100 ปอนด์ แปะลงบนฟิวเจอร์บอร์ดพร้อมกับติดแลดซีนที่ขอบฟิวเจอร์บอร์ด
2.วาดรูปลงบนกระดาษปอนด์
3.ตัดกระดาษลังเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมและตัดกระดาษ 100 ปอนด์ลงบนกระดาษลังแล้ววาดรูปที่เหมือนกันในรูปฟิวเจอร์บอร์ด
4.นำกระดาษลังก็เครีอบแผ่นใส่ด้วยก็เป็นเสร็จเรียบร้อย
การใช้สอนขั้นตอนการสอน
1.กล่าวทักทายเด็กๆ พร้อมสวัสดีตอนเช้าและบอกชื่อหน่วยที่จะสอนบอกวัตถุประสงค์ให้เด้กรู้
2. นำสู่ขั้นนำให้เด็กร้องเพลงสวัสดีตอนเช้าร้องเพลง สวัสดีๆวันนี้เรามาพบกันเธอกับฉันสวัสดีๆ
3.พาเด็กนับตัวเลข 1-10 ให้เด็กรู้จักจำนวนและวิธีการนับก่อน
4.คุณครูพาเด็กฟังนิทานจากรูปภาพบนฟิวเจอร์บอร์ด
5.เมื่อคุณครูเล่าจบก็ถามนักเรียนว่ามีสัตว์อะไรบ้างและมีกี่ตัวให้นับที่ละตัว นักเรียนบอกได้และเข้าใจ
ประโยชน์ที่ได้รับ
1.เด็กได้รู้จักจำนวนการนับ
2.เด็กได้รู้จักการสังเกต
3.ฝึกให้เด็กมีสมาธิในการฟัง
วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2559
งานวิจัยเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
งานวิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ชื่องานวิจัย การใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย = Using thai folk plays to develop mathematics concepts of Preschool Children
ผู้วิจัย ทัดดาว ดวงเงา
บทที่ 1 บทนำ
ในปัจจุบันคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตเราเราเป็นอย่างมากทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ที่ต้องนำความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ควรจัดกิจกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่ไปกับการพัฒนามโนทัศน์พื้นฐานคณิตศาสตร์ที่จะทำให้เด็กได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริง ครูเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆที่มีประโยชน์กับเด็ก ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอนในระดับปฐมวัยมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบต่างๆ ที่จำนำแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการอนแบบสร้างสรรค์นิยม(Constructivism) และวิธีการสอนแบบเล่นปนเรียนของ Froebel ที่มาสอดคล้องกับวิจัยเรื่องนี้ซึ่งมีวิชาคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยมาเป็นตัวช่วย และสามารถให้เด็กนำความคิดรวบยอดไปใช้ในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
1.ด้านกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน โรงเรียนอนุบาลสวนน้อย จังหวัดเชียงใหม่
2.ด้านเนื้อหา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ขอบเขตเนื้อหาดังนี้
2.1 การละเล่นแบบไทยโดยคัดเลือกการละเล่นแบบไทยที่มีลักษณะการละเล่นเกี่ยวกับการนับและจำนวนที่สามารถเล่นได้ทั้งชายและหญิงจำนวน 10 กิจกรรม
2.2 มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 จำนวน 10 กิจกรรม
ตัวแปรที่จะศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมการละเล่นแบบไทย
ตัวแปรตาม ได้แก่ มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานในการวิจัย
กิจกรรมการละเล่นแบบไทยช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมัวยให้สูงขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย
2.ผลการศึกษาเป็นแนวทางแก่ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
ในการศึกษาการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ศึกษา
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เสนอไว้ตามลำดับดังนี้
1.พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
2.การละเล่นแบบไทย
3.คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
4.มโนทัศน์
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พอสรุปสังเขปได้ดังนี้
เป็นการรวบรวมวิธีการเล่นและวิเคราะห์คุณค่าของการละเล่นแบบไทยแต่ละประเภทเพื่อช่วยฝึกทักาะด้านต่างๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการศึกษาเช่น การส่งเสริมด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญาและเป็นการสอนในรูปแบบการเล่นปนเรียนที่เหมาะสมกับเด็กเพือฝึกทักษะด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่นความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความมีระเบียบวินัยและการปลุกฝังการอนุรัษ์วัฒนธรรมไทยให้กับเด็กอีกด้วย อีกทั้งการละเล่นแบบไทยยังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่ามีวิธีการเรียนรู้ที่นำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ได้ในกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆเช่น จำนวน การจำแนก รูปร่าง ขนาด สีและกลุ่ม เป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียน และได้นำแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการสอนแบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) และวิธีการสอนแบบเล่นปนเรียนของFrobel มาเป็นกรอบแนนคิดในการศึกษาถึงผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กสามารถนำทักษะและมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการเล่นและในขณะเดียวกันเด็กจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กได้สร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการเล่นปนเรียน
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวมดลองก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่3 จำนวน24คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่1.แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน 10 แผน
2.แบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546
3.แบบสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการร่วมกิจกรรมการละเล่นแบไทยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชนิดไม่มีโครงสร้าง
การรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือทดลองเครื่องมือจากนั้นดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 24 คน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนทำกิจกรรม 1 ครั้ง และดำเนินการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยและให้นักเรียนทำแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์หลังจากทำกิจกรรมครบ 24 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังการทดลองไปวิเคราะห์ใช้วิธีการทางสิถิติ สุดท้ายก็นำข้อมูลจากการบันทึกพฤติกรรมในระหว่างร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปประกอบกับข้อมูลผลการวิเคราะห์จากแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วนตนเองและเปรียบเทียบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์และนำข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
2.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยนของมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์
3.ผลคะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังจากใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่และร้อยละ
4.การวิเคราะห์หาความยากง่ายและอำนาจจำแนกของแบบทดสอบโดยใช้เทคนิคร้อยละ 50 และการหาค่าความเชือมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับแบบของคูเดอร์และริชาร์ดสัน การหาค่าเฉลี่ยสูตรเอ็กซ์บาร์ การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดการกระจายของข้อมูลและการหาค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพือพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเพื่อศึกษาถึงผลของการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลจากการทำแบบประเมินมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทยที่ผู้วิจัยได้จัดขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทย
โดยสรุปของตอนที่ 2 ว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีมโนทัศน์ด้านการนับและจำนวน 1-30 ด้านตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ ด้านการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน ด้านองค์ประกอบการบวกจำนวน 10 ด้านการลบจำนวน 10 และด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุป
การวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นเชิงทดลองแบบมีกลุ่มเดียวมดสอบก่อนและหลังการทดลอง สมมุติฐานในการวิจัยคือ กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น กลุ่มเป้าหมายคือเด็กปฐมวัย อายุ5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่3 จำนวน24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน 10 แผน และแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช2546และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยชนิดไม่มีโครงสร้าง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ซึ่งผู้วิจัยนำมาจากแบบฝึกทักษะสนุกตัวเลขพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ 5-6ปี ของกระทรวงศึกษาธิการโดนสุรศักดิ์ อมรรัตน์ศักดิ์ (2540)ทำการรวบรวม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1ก่อนการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย ครั้งที่2หลังการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยโดนหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยตนเองและเปรียบเทียบกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังนี้
1.แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีความสอดคล้องตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช2546 จำนวน 10 แผน
2.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์การนับและจำนวน การรู้ตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่าน้อยกว่าเท่ากัน องค์ประกอบการบวกจำนวน10 การลบจำนวน10ละด้านคณิตศาสตร์รวมทุกด้าน หลังการทดลองการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
อภิปรายผล
การค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 10 แผน เป็นการทำการทดลองใช้กิจกรรมในช่วงเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 20ครั้ง เครื่อมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน10แผนและแบบทดสอบมโนทัสน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอข้อมุลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน10แผนสามารถทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้และพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ผลการวิจัยจึงสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้และสอดคล้องกับผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิปานศิริ รุ่งรัศมี(2553)ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างชุดการสอนเรื่องพัฒนาความพร้อมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนอายุ5-6ปี ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่านักเรียนมีคะแนนด้านคณิตศาสตร์สูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งผลการวิจัยที่มีความสอดคล้องกันแสดงให้เห็นว่าการนำกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้และจากการบันทึกพฤติกรรมในการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทย พบว่า เด็กได้รับการพัฒนาการด้านร่างกายเป็นอย่างดี รวมทั้งเด็กยังได้รับการพัฒนาในด้านอารมณ์ จิตใจและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมสังคมโดยผ่านกระบวนการเล่นปนเรียนจึงพบว่าการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้เพิ่มสูงขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
โดยสรุปได้โดยสังเขปดังนี้ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยต้องให้สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนต้องไม่เครียด มีกิจกรรมที่หลากหลายใช้สถานการณ์ในปัจจุบันของเด็กเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมและที่สำคัยสำหรับการเชื่อมต่อการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1มีความสำคัญ ครูผู้สอนควรต้องศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชั้นประถมศึกษาปีที่1รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งการช่วยเหลือเด็กในการปรับตัวก่อนเลื่อนชั้นประถมศึกษาปีที่1
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
ควรนำกิจกรรมการละเล่นแบบไทยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์กับเด็กที่อยู่ในสถานพินิจ รวมทั้งควรศึกษาแนวน้มการเลือกรูปแบบการเล่นของเด็กไทยระหว่างการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย กับการเล่นเกมคอมพิวเตรอ์ออนไลน์หรืออิทธิพลที่มีต่อการเลือกรุปแบบการเล่นของเด็กไทย
ผู้วิจัย ทัดดาว ดวงเงา
บทที่ 1 บทนำ
ในปัจจุบันคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับการดำเนินชีวิตเราเราเป็นอย่างมากทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ ที่ต้องนำความรู้ ความเข้าใจและทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์นำมาแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน ควรจัดกิจกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ควบคู่ไปกับการพัฒนามโนทัศน์พื้นฐานคณิตศาสตร์ที่จะทำให้เด็กได้ลงมือกระทำปฏิบัติจริง ครูเป็นผู้สร้างสรรค์กิจกรรมใหม่ๆที่มีประโยชน์กับเด็ก ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สอนในระดับปฐมวัยมีประสบการณ์ในการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบต่างๆ ที่จำนำแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการอนแบบสร้างสรรค์นิยม(Constructivism) และวิธีการสอนแบบเล่นปนเรียนของ Froebel ที่มาสอดคล้องกับวิจัยเรื่องนี้ซึ่งมีวิชาคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อให้เด็กนำความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยมาเป็นตัวช่วย และสามารถให้เด็กนำความคิดรวบยอดไปใช้ในอนาคต
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการวิจัย
1.ด้านกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน โรงเรียนอนุบาลสวนน้อย จังหวัดเชียงใหม่
2.ด้านเนื้อหา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ขอบเขตเนื้อหาดังนี้
2.1 การละเล่นแบบไทยโดยคัดเลือกการละเล่นแบบไทยที่มีลักษณะการละเล่นเกี่ยวกับการนับและจำนวนที่สามารถเล่นได้ทั้งชายและหญิงจำนวน 10 กิจกรรม
2.2 มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 จำนวน 10 กิจกรรม
ตัวแปรที่จะศึกษา
ตัวแปรอิสระ ได้แก่ กิจกรรมการละเล่นแบบไทย
ตัวแปรตาม ได้แก่ มโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
สมมุติฐานในการวิจัย
กิจกรรมการละเล่นแบบไทยช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมัวยให้สูงขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.ได้ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย
2.ผลการศึกษาเป็นแนวทางแก่ครู บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัย
ในการศึกษาการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผู้วิจัยได้ศึกษา
บทที่2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เสนอไว้ตามลำดับดังนี้
1.พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
2.การละเล่นแบบไทย
3.คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
4.มโนทัศน์
5.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
พอสรุปสังเขปได้ดังนี้
เป็นการรวบรวมวิธีการเล่นและวิเคราะห์คุณค่าของการละเล่นแบบไทยแต่ละประเภทเพื่อช่วยฝึกทักาะด้านต่างๆให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ในการศึกษาเช่น การส่งเสริมด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสังคม ด้านสติปัญญาและเป็นการสอนในรูปแบบการเล่นปนเรียนที่เหมาะสมกับเด็กเพือฝึกทักษะด้านภาษา ด้านคณิตศาสตร์และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่นความสามัคคี ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความอดทน ความมีระเบียบวินัยและการปลุกฝังการอนุรัษ์วัฒนธรรมไทยให้กับเด็กอีกด้วย อีกทั้งการละเล่นแบบไทยยังเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ได้เป็นอย่างดี จะเห็นได้ว่ามีวิธีการเรียนรู้ที่นำมาใช้เพื่อพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ได้ในกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบต่างๆเช่น จำนวน การจำแนก รูปร่าง ขนาด สีและกลุ่ม เป้าหมายซึ่งเป็นนักเรียน และได้นำแนวคิดและหลักการพื้นฐานในการสอนแบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) และวิธีการสอนแบบเล่นปนเรียนของFrobel มาเป็นกรอบแนนคิดในการศึกษาถึงผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เพื่อให้เด็กสามารถนำทักษะและมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เหล่านี้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผ่านการเล่นและในขณะเดียวกันเด็กจะเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกัน ซึ่งจะส่งผลให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กได้สร้างความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้รวมทั้งการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยกระบวนการเรียนรู้จากการเล่นปนเรียน
บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบกลุ่มเดียวมดลองก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย โดยมีวิธีดำเนินการดังนี้
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอนุบาลปีที่3 จำนวน24คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ได้แก่1.แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน 10 แผน
2.แบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546
3.แบบสังเกตพฤติกรรมในระหว่างการร่วมกิจกรรมการละเล่นแบไทยเกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ชนิดไม่มีโครงสร้าง
การรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ขอความอนุเคราะห์และความร่วมมือทดลองเครื่องมือจากนั้นดำเนินการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 24 คน ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนทำกิจกรรม 1 ครั้ง และดำเนินการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยและให้นักเรียนทำแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์หลังจากทำกิจกรรมครบ 24 สัปดาห์ หลังจากนั้นนำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบก่อนและหลังการทดลองไปวิเคราะห์ใช้วิธีการทางสิถิติ สุดท้ายก็นำข้อมูลจากการบันทึกพฤติกรรมในระหว่างร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้และพัฒนาการทางด้านมโนทัศน์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ไปประกอบกับข้อมูลผลการวิเคราะห์จากแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วนตนเองและเปรียบเทียบกับโปรแกรมคอมพิวเตอร์และนำข้อมูลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1.ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
2.การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยนของมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์
3.ผลคะแนนที่เพิ่มขึ้นหลังจากใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ความถี่และร้อยละ
4.การวิเคราะห์หาความยากง่ายและอำนาจจำแนกของแบบทดสอบโดยใช้เทคนิคร้อยละ 50 และการหาค่าความเชือมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับแบบของคูเดอร์และริชาร์ดสัน การหาค่าเฉลี่ยสูตรเอ็กซ์บาร์ การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดการกระจายของข้อมูลและการหาค่าความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การทดสอบค่าที
บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
จากการวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพือพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเพื่อศึกษาถึงผลของการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี จำนวน 24 คน ซึ่งผู้วิจัยได้วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบข้อมูลโดยการเปรียบเทียบผลจากการทำแบบประเมินมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทยที่ผู้วิจัยได้จัดขึ้น จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็น 2 ตอนดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของนักเรียน
ตอนที่ 2 การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมการละเล่นแบบไทย
โดยสรุปของตอนที่ 2 ว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมกับหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนนที่แตกต่างกัน แสดงให้เห็นว่าหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีมโนทัศน์ด้านการนับและจำนวน 1-30 ด้านตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ ด้านการเปรียบเทียบจำนวนมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน ด้านองค์ประกอบการบวกจำนวน 10 ด้านการลบจำนวน 10 และด้านคณิตศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม
บทที่ 5 สรุป อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ
สรุป
การวิจัยเรื่องการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยเป็นเชิงทดลองแบบมีกลุ่มเดียวมดสอบก่อนและหลังการทดลอง สมมุติฐานในการวิจัยคือ กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสูงขึ้น กลุ่มเป้าหมายคือเด็กปฐมวัย อายุ5-6 ปี ชั้นอนุบาลปีที่3 จำนวน24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน 10 แผน และแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช2546และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมของเด็กปฐมวัยชนิดไม่มีโครงสร้าง
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบทดสอบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ซึ่งผู้วิจัยนำมาจากแบบฝึกทักษะสนุกตัวเลขพื้นฐานเบื้องต้น เพื่อพัฒนาทักษะและประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ 5-6ปี ของกระทรวงศึกษาธิการโดนสุรศักดิ์ อมรรัตน์ศักดิ์ (2540)ทำการรวบรวม 2 ครั้ง ครั้งที่ 1ก่อนการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย ครั้งที่2หลังการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทย จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยโดนหาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยตนเองและเปรียบเทียบกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ดังนี้
1.แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยมีความสอดคล้องตามพัฒนาการของเด็กปฐมวัยของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยกระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช2546 จำนวน 10 แผน
2.เด็กปฐมวัยมีมโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์การนับและจำนวน การรู้ตัวเลขจำนวนคู่และจำนวนคี่ การเปรียบเทียบจำนวนมากกว่าน้อยกว่าเท่ากัน องค์ประกอบการบวกจำนวน10 การลบจำนวน10ละด้านคณิตศาสตร์รวมทุกด้าน หลังการทดลองการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง
อภิปรายผล
การค้นคว้าแบบอิสระครั้งนี้เพื่อศึกษาการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยจำนวน 10 แผน เป็นการทำการทดลองใช้กิจกรรมในช่วงเวลา 4 สัปดาห์ จำนวน 20ครั้ง เครื่อมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน10แผนและแบบทดสอบมโนทัสน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย กระทรวงศึกษาธิการ พุทธศักราช 2546 นำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนำเสนอข้อมุลโดยใช้ตารางประกอบคำบรรยาย ผลการศึกษาพบว่าแผนการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทยจำนวน10แผนสามารถทำให้เด็กปฐมวัยเกิดการเรียนรู้และพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ผลการวิจัยจึงสนับสนุนสมมุติฐานที่ตั้งไว้และสอดคล้องกับผลงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยเพื่อพัฒนาทักษะด้านต่างๆ อาทิปานศิริ รุ่งรัศมี(2553)ได้ทำการวิจัยเรื่อง การสร้างชุดการสอนเรื่องพัฒนาความพร้อมสำหรับเด็กก่อนวัยเรียนอายุ5-6ปี ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ว่านักเรียนมีคะแนนด้านคณิตศาสตร์สูงขึ้นมากกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งผลการวิจัยที่มีความสอดคล้องกันแสดงให้เห็นว่าการนำกิจกรรมการละเล่นแบบไทยเป็นกิจกรรมหนึ่งที่สามารถช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้สูงขึ้นได้และจากการบันทึกพฤติกรรมในการจัดกิจกรรมการละเล่นแบบไทย พบว่า เด็กได้รับการพัฒนาการด้านร่างกายเป็นอย่างดี รวมทั้งเด็กยังได้รับการพัฒนาในด้านอารมณ์ จิตใจและปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมสังคมโดยผ่านกระบวนการเล่นปนเรียนจึงพบว่าการใช้กิจกรรมการละเล่นแบบไทยช่วยพัฒนามโนทัศน์ด้านคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยให้เพิ่มสูงขึ้นได้
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
โดยสรุปได้โดยสังเขปดังนี้ การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยต้องให้สอดคล้องกับวัยและพัฒนาการของเด็ก ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ การเรียนต้องไม่เครียด มีกิจกรรมที่หลากหลายใช้สถานการณ์ในปัจจุบันของเด็กเป็นพื้นฐานในการจัดกิจกรรมและที่สำคัยสำหรับการเชื่อมต่อการศึกษาระดับปฐมวัยกับระดับประถมศึกษาปีที่1มีความสำคัญ ครูผู้สอนควรต้องศึกษาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของชั้นประถมศึกษาปีที่1รวมทั้งการสร้างความเข้าใจกับผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งการช่วยเหลือเด็กในการปรับตัวก่อนเลื่อนชั้นประถมศึกษาปีที่1
ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป
ควรนำกิจกรรมการละเล่นแบบไทยไปจัดกิจกรรมให้กับเด็กที่อาศัยอยู่ในสถานสงเคราะห์กับเด็กที่อยู่ในสถานพินิจ รวมทั้งควรศึกษาแนวน้มการเลือกรูปแบบการเล่นของเด็กไทยระหว่างการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย กับการเล่นเกมคอมพิวเตรอ์ออนไลน์หรืออิทธิพลที่มีต่อการเลือกรุปแบบการเล่นของเด็กไทย
การนำไปประยุกต์ใช้
การวิจัยเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อการเรียนเป็นอย่างมาก สามารถประยุกต์ใช้ได้ในหลายกิจกรรมประจำวันของเด็กนั่นก็คือ กิจกรรมกลางแจ้งซึ่งรูปแบบการละเล่นของไทยเป็นรูปแบบกิจกรรมหนึ่ง ซึ่งสอดแทรกการเรียนรู้คณิตศาสตร์เบื้องต้นของเด็กและยังเป็นแนวทางในการศึกษาการวิจัยในการเรียนการสอนในระดับที่สูงขึ้นไป
วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2559
บันทึกครั้งที่1
การบันทึกครั้งที่ 1 / วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.
เนื้อหาที่เรียน ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้เป็นชั่วโมงแรกในการเรียนการสอนของวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย อาจารย์แจกกระดาษให้กับนักศึกษาพร้อมกำหนดหัวข้อว่า กระดาษ 1 แผ่น แบ่งให้เป็น 3 ส่วนเท่าๆกัน และให้นักศึกษาเขียนจุดเด่นของตนเองลงในกระดาษแล้วส่งให้อาจารย์อ่านแล้วทายว่าคนไหน พร้อมทั้งบอกชื่อและจังหวัดที่เกิดของตนเอง และอาจารย์ถามนักศึกษาว่ามีวิธีการแบ่งกระดาษให้เพื่อนๆอย่างไร ท้ายคาบอาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการทำบล็อคส่งในรายวิชานี้ และปล่อยให้นักศึกษาทำบล็อคส่ง
วิธีการสอน
- สอนด้วยประเด็นปัญหา
- สอนด้วยการให้นักศึกษามีส่วนร่วม
ทักษะ
- ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์
- ฝึกทักษะการฟังและการพูด
การนำไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอนาคตได้
บรรยากาศในห้องเรียน
- บรรยากาศภายในห้องเรียนสนุกสนาน ไม่กดดัน
คุณธรรม จริยธรรม
- ตรงต่อเวลา
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง
การประเมิน
ตนเอง : ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอน ร่วมทำกิจกรรม
เพื่อน : มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม
ครูผู้สอน : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)