วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกครั้งที่6


การบันทึกครั้งที่ 6 / วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2559
เรียนเวลา13.30 - 17.30 น.

     การจัดประสบการณ์ การเรียนการสอนโดยการแก้ปัญหา โดยครูตั้งปัญหาให้เด็กได้ทดลองลงมือทำ แก้ปัญหา และสร้างผลงานของตนเอง โดยมีโครงสร้างดังนี้  
  • วิเคราะห์แนวคิด
  • ศึกษาวัสดุที่มีอยู่
  • ลงมือทำ (เกิดการแก้ปัญหา)
  • นำเสนอ
ตัวอย่างกิจกรรม 
        จัดกิจกรรมเกี่ยวกับรูปทรง ให้เด็กคุ้นเคยกับรูปทรงต่างๆผ่านการเล่นบล็อก เกมส์การศึกษา หรือสิ่งต่างๆรอบตัว 
ครูทำรูปแบบที่ให้เด็กเห็นภาพจริง เช่น การตัดไม้มาต่อเป็นรูปร่างแล้วเอาดินน้ำมันเป็นฐานยึด
เด็กยังไม่เห็นด้านของรูปทรงนั้นๆ วิธีการเรียนรู้ คือ ครูให้เด็กตัดกระดาษมาแปะ ตามด้านของรูปทรงนั้นๆ เพื่อให้เด็กเห็นภาพชัดขึ้น เกิดทักษะต่างๆ คือ
        E (engineering) = โครงส้ราง
        S (Science) = ดินน้ำมัน ไม้
        T (technology) = การนำเสนอ
       M (mathematics) = จำนวนนับไม้  จำนวนมุม  ความสั้น ยาว การวัด รูปทรง

ภาพบรรยากาศระหว่างทำกิจกรรม







รูปทรงสามเหลี่ยม



รูปสี่เหลี่ยม



รูปทรงสี่เหลี่ยม





การจัดประสบการณ์คณิตศาตร์บรูณาการศิลปะสร้างสรรค์
         1.การสร้างโมเดลโครงสร้างรูปทรง ให้เด็กต่อเติเป็นรูปต่างๆ ผ่านศิลปะ
         2.ให้เด็กวาดภาพตามจินตนาการ แล้วนำมาบรูณาการคณิตศาสตร์ ได้ 2 แบบ คือ
  • ถามเด็กโดยตั้งจำนวนก่อน เช่น ในภาพของเด็กๆ มีอะไรบ้างที่มี 3 จำนวน
  • ให้เด็กนับจำนวนจากสิ่งที่เด็กวาดว่ามีจำนวนเท่าไหร่

       ครูอนุบาลต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมาและจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์นั้นต้องสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพราะประสบการณ์เดิม >> สู่ประสบการณ์ใหม่ >> สู่การปรับโครงสร้าง >> การรับรู้ >> เกิดการเรียนรู้ >> เพื่อเอาตัวรอด

ทักษะที่ได้รับ
  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะการสังเกต
  • ทักษะรูปทรง
  • ทักษะการตอบคำถาม

การนำมาประยุกต์ใช้
วิธีการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็กนั้นเราต้องดึงสิ่งที่เด็กมีออกมา แล้วนำมาจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันของเด็กให้เด็ก สามารถดึงทุกอย่างมาบูรณาการในคณิตศาสตร์ได้ 
บรรยากาศในห้องเรียน
โต๊ะ เก้าอี้เพียงพอต่อนักศึกษา สะอาดเรียบร้อย อุณหภูมิในห้องพอดี
การจัดการเรียนการสอน
มีการเตรียมการสอนอย่างดี ให้นักศึกษาได้ลงมือทำจริง ได้คิด วิเคราะห์ และรู้จักการลองผิดลองถูก การแก้ปัญหา

ประเมินตนเอง ตั้งใจฟังเวลาอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมอย่างเต็มที่                       
ประเมินเพื่อน : มีความตั้งใจและให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม ไม่คุยกัน ช่วยกันตอบคำถาม            
ประเมินอาจารย์ : แต่งกายสุภาพ พูดเสียงดังฟังชัดเจน 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น